
สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
[คำอ่าน : สะ-ตัง, ทำ-โม, ทุ-รัน-วะ-โย]
“ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยากยิ่ง”
(สํ.ส. ๑๕/๒๖, ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๖๓, ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๔)
หลักธรรมคำสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้และนำมาสั่งสอนพวกเราเหล่าสาวกทั้งหลายนั้น เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ทรงคุณค่า เป็นธรรมที่ปุถุชนคนกิเลสหนาทั้งหลายไม่สามารถรู้ได้
การที่จะรู้ตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างมาก ในการศึกษาและปฏิบัติตามจนเกิดผล ต้องต่อสู้กับกิเลสที่คอยขัดขวาง ต้องไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายที่คอยกีดกันการประพฤติธรรม
แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม คือเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมนั้นแล้วนำมาเผยแผ่ พระองค์ยังต้องบำเพ็ญบารมีมาหลายอสงไขยกัป ต้องลองผิดลองถูกมานับไม่ถ้วน จึงสามารถตรัสรู้ธรรมนั้นได้ และนำมาสั่งสอนพวกเราเหล่าสาวก
นอกจากนั้น เหล่าอนุพุทธะทั้งหลายผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ก็ต้องใช้ความเพียรอย่างยิ่งยวด ในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า มิใช่ผู้ใดอยากรู้ก็รู้ ผู้ใดอยากได้ก็ได้ แต่จะรู้ได้ก็ด้วยการปฏิบัติด้วยความเพียรอย่างแรงกล้าและถูกทาง
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยากยิ่ง”
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา