
ปัจจัย 4 ประการ
ปัจจัย หมายถึง สิ่งค้ำจุนชีวิต สิ่งจำเป็นเบื้องต้นของชีวิต สิ่งที่ต้องอาศัยเลี้ยงอัตภาพ เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย จำแนกเป็น 4 ประการ คือ
1. จีวร
จีวร หมายถึง เครื่องนุ่งห่ม สำหรับภิกษุ ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ สำหรับคนทั่วไป ได้แก่ เสื้อผ้าอาภรณ์ ซึ่งเครื่องนุ่งห่มนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตอย่างหนึ่ง มีไว้เพื่อป้องกันร่างกายจากความหนาวความร้อนบ้าง ป้องกันภัยจากสัตว์เช่นเหลือบ ยุง เป็นต้นบ้าง เพื่อปกปิดอวัยวะอันเป็นที่ตั้งแห่งความละอายบ้าง
2. บิณฑบาต
บิณฑบาต หมายถึง อาหาร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต มนุษย์เราขาดอาหารไม่ได้ จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อบำรุงร่างกายให้มีเรี่ยวแรงสำหรับการประกอบกิจหรือการบำเพ็ญธรรม ถ้าขาดอาหารเสียแล้ว ย่อมไม่มีเรี่ยวแรงในการประกอบกิจต่าง ๆ ขาดอาหารหลายวันเข้า ย่อมถึงแก่ความตายในที่สุด
3. เสนาสนะ
เสนาสนะ หมายถึง ที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องมี เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ต่าง ๆ หรือป้องกันโจรภัย เป็นต้นบ้าง เพื่อเป็นสถานที่หลีกเร้นสำหรับบำเพ็ญธรรมบ้าง
4. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ เภสัช หมายถึง ยาและอุปกรณ์รักษาโรค เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีเช่นกัน เพราะเมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา จำเป็นจะต้องอาศัยยาและอุปกรณ์รักษาโรคเหล่านั้น ในการบำบัดโรคภัย เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตประกอบกิจบำเพ็ญธรรมต่อไปได้
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ