
สวรรค์ 6 ชั้น
สวรรค์ คือ ภพที่มีอารมณ์อันเลิศ โลกที่มีแต่ความสุข เทวโลก ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา ในที่นี้หมายเฉพาะสวรรค์ชั้นกามาพจร คือ ชั้นที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ซึ่งเรียกเต็มว่า ฉกามาพจรสวรรค์ หรือ กามาวจรสวรรค์ มี 6 ชั้น เรียงจากชั้นต่ำสุดขึ้นไปดังนี้
1. จาตุมหาราชิกา
จาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นที่ต่ำที่สุด มีท้าวมหาราช 4 หรือ ท้าวจตุโลกบาล ปกครองร่วมกัน โดยแบ่งเขตกันปกครอง ดังนี้
- ท้าวธตรฐ จอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก โดยมีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร
- ท้าววิรูฬหก จอมกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้ โดยมีพวกภุมภันฑ์เป็นบริวาร
- ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศตะวันตก โดยมีพวกนาคเป็นบริวาร
- ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ โดยมีพวกยักษ์เป็นบริวาร
ผู้ที่จะมาเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้ ต้องบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา และตั้งตนอยู่ในสุจริตทั้งทางกาย วาจา และใจ
2. ดาวดึงส์
ดาวดึงส์ แดนที่อยู่แห่งเทพ 33 องค์ มีท้าวสักกเทวราช หรือ พระอินทร์ เป็นจอมเทพคือเป็นประมุข บางทีเรียก ไตรตรึงส์
สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่ประดิษฐานพระจุฬามณี พระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศเมาลีของพระพุทธเจ้าที่ทรงตัดเมื่อครั้งอธิษฐานถือเพศบรรพชิต และบรรจุพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้าด้วย
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา พระองค์ก็ทรงจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นนี้
เทวดาที่เกิดในสวรรค์ชั้นนี้จะยึดมั่นในการปฏิบัติธรรม และมีการฟังธรรมทุกวันธัมมัสสวนะ
ผู้ที่จะมาเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้ จะต้องบำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ คือ
- เลี้ยงดูมารดาบิดาให้มีความสุข
- ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
- กล่าวถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน
- ไม่กล่าวคำส่อเสียด
- รู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
- รักษาคำสัตย์
- รู้จักข่มความโกรธ
3. ยามา
ยามา แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์ มีท้าวสุยามเป็นผู้ปกครอง เทพที่เกิดในสวรรค์ชั้นนี้จะมีรัศมีแผ่ซ่านออกจากกายสว่างไสวมาก จนไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน ต้องสังเกตจากดอกไม้ทิพย์ ถ้าดอกไม้ทิพย์บานจะเป็นกลางวัน ถ้าดอกไม้ทิพย์หุบจะเป็นกลางคืน
ผู้ที่เกิดในสวรรค์ชั้นนี้จะบริบูรณ์ด้วยทิพยสมบัติ 10 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ อธิปไตย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ประณีตยิ่วงกว่าสวรรค์สองชั้นแรก
ผู้ที่จะมาเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้ จะต้องบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุที่ประณีตยิ่งกว่าเทวดาในสวรรค์สองชั้นแรก
4. ดุสิต
ดุสิต แดนที่อยู่แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มีท้าวสันดุสิตเทวราชเป็นจอมเทพ สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะลงมาอุบัติในโลกมนุษย์และตรัสรู้ในพระชาติสุดท้าย พระพุทธมารดาเมื่อสวรรคตแล้วก็จะมาอุบัติบนสวรรค์ชั้นนี้
ผู้ที่จะมาเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้ จะต้องบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุที่ประณีตยิ่งกว่าเทวดาในสวรรค์สามชั้นแรก
5. นิมมานรดี
นิมมานรดี แดนที่อยู่แห่งเทพผู้มีความยินดีในการเนรมิต มีท้าวสุนิมมิตเทวาธิราชเป็นจอมเทพ เทวดาในชั้นนี้ ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมเนรมิตได้เอง
6. ปรนิมมิตวสวัตดี
ปรนิมมิตวสวัตดี สวรรค์ชั้นนี้เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุดในกามาวจรภูมิ เป็นแดนที่อยู่แห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ คือเสวยสมบัติที่เทพพวกอื่นนิรมิตให้ อยากได้สิ่งใดไม่ต่องเนรมิตเอง มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพ
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ