
เวปุลลธรรม 6 ประการ
เวปุลลธรรม คือ คุณสมบัติที่จะทำให้บุคคลเป็นผู้เติบใหญ่ไพบูลย์ในธรรมหรือคุณความดีทั้งหลายในเวลาไม่นาน มี 6 ประการ คือ
1. อาโลกพหุโล
อาโลกพหุโล เป็นผู้มากด้วยความสว่างแห่งปัญญาหยั่งรู้ คือ มีญาณมาก มีความรู้มาก มีปัญญามาก ได้แก่ ประกอบด้วยปัญญา 3 ด้าน คือ
- ปริยัติญาณ ปัญญาคือความรู้ที่เกิดจากการศึกษา
- ปฏิปัตติญาณ ปัญญาคือความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ
- ปฏิเวธญาณ ปัญญาคือความรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งอริยสัจทั้ง 4
2. โยคพหุโล
โยคพหุโล เป็นผู้มากด้วยความเพียรประกอบการ คือ มากไปด้วยความเพียร ทั้งทางโลกและทางธรรม ความเพียรทางโลก คือ พยายามให้การงานที่ประกอบนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ส่วนความเพียรในทางธรรมนั้น จำแนกออกเป็น 4 ประการ คือ
- สังวรปธาน ความเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
- ปหานปธาน เพียรละหรือกำจัดบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- ภาวนาปธาน ความเพียรในการสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน
- อนุรักขนาปธาน ความเพียรในการรักษาคุณงามความดีที่มีอยู่แล้วไม่ให้เสื่อมไป
3. เวทพหุโล
เวทพหุโล เป็นผู้มากด้วยความเบิกบานใจ คือ มีปีติปราโมทย์อยู่เสมอ ได้แก่ มีความอิ่มอกอิ่มใจต่อผลงาน ต่อความดีต่าง ๆ ที่ตนได้ทำมาได้ปฏิบัติมาทั้งทางโลกและทางธรรม ความอิ่มใจทางโลก ได้แก่ เมื่องานหรือสิ่งที่ตนประกอบทุกอย่างสำเร็จสมประสงค์ ส่วนความอิ่มใจทางธรรมนั้น แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
- ความอิ่มใจในขั้นต่ำ เกิดขึ้นเพราะการเรียนรู้ปริยัติตามภูมิตามชั้นของตนแล้วสอบได้ ย่อมภาคภูมิใจ สุขใจมิใช่น้อย
- ความอิ่มใจในขั้นกลาง เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติธรรม เช่น เจริญสมถกัมมัฏฐาน หรือเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วเกิดความอิ่มใจที่เรียกว่า ปีติ 5 มีขุททกาปีติ เป็นต้น
- ความอิ่มใจขั้นสูง เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติธรรมจนได้ผลเต็มที่แล้ว เกิดความอิ่มใจเป็นพิเศษ
4. อสนฺตุฏฺฐิพหุโล
อสนฺตุฏฺฐิพหุโล เป็นผู้มากด้วยความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ไม่รู้อิ่มไม่รู้พอในการบำเพ็ญความดี หมายความว่า ไม่พอใจเพียงเท่านั้น ไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ต้องพยายามก้าวหน้าต่อไปอีก คือพยายามทำทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ไม่ลดละ
5. อนิกฺขิตฺตธุโร
อนิกฺขิตฺตธุโร ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ไม่เพิกเฉยต่อการบำเพ็ญกุศลธรรมทั้ง 4 ระดับ คือ
- กามาวจรกุศล ได้แก่ กุศลที่เกิดขึ้นจากทาน ศีล เป็นต้น
- รูปาวจรกุศล ได้แก่ กุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญสมถกัมมัฏฐานในส่วนที่เป็นรูปกัมมัฏฐาน จนได้รูปฌาน
- อรูปาวจรกุศล ได้แก่ กุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญอรูปกัมมัฏฐาน จนได้สำเร็จอรูปฌาน
- โลกุตตรกุศล ได้แก่ บุญกุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้บรรลุอริยมรรคอริยผล
6. อุตฺตริญฺจ ปตาเรติ
อุตฺตริญฺจ ปตาเรติ เพียรพยายามทำกิจบัดนี้ให้ลุล่วง ก้าวสู่คุณความดีที่สูงยิ่งขึ้นไป คือ พยายามก้าวหน้าต่อไป ทั้งภาคปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จนสามารถหลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งหลายทั้งปวง
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ