
รกฺขมาโน สโต รกฺเข.
[คำอ่าน : รัก-ขะ-มา-โน, สะ-โต, รัก-เข]
“ผู้รักษา ควรมีสติรักษา”
(ส.ส.)
สติ ถือว่าเป็นเครื่องรักษาป้องกันอย่างดี เพราะสติจะทำให้บุคคลนั้น ๆ ตื่นตัวอยู่เสมอ มีจิตใจจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน สามารถรู้เท่าทันว่าขณะนั้นตนกำลังทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร อะไรกำลังเกิดขึ้น
บุคคลทั้งหลายผู้มีหน้าที่รักษา เช่น ยามผู้ที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตำรวจที่มีหน้าที่รักษาความสงบสุขของประชาชน เป็นต้น ก็จำเป็นต้องมีสติ ซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้ไม่เกิดความประมาท เมื่อไม่ประมาท หน้าที่ที่ทำอยู่ในขณะนั้น ๆ ก็ไม่ผิดพลาด
หรือเมื่อจะพูดในทางธรรม บุคคลผู้รักษาศีล ก็จำเป็นต้องมีสติเป็นเครื่องควบคุม จะได้ไม่ประมาทในศีล และไม่เกิดการกระทำที่เป็นการละเมิดศีล ทำให้ศีลไม่ขาด ไม่ด่างพร้อย ทำให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์
ผู้ปฏิบัติธรรม ก็จำต้องมีสติเป็นเครื่องควบคุมรักษากาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ให้ดำรงอยู่ในฝ่ายแห่งกุศล ไม่เอนเอียงไปในฝ่ายที่เป็นอกุศล มีความระลึกได้รู้ตัวอยู่ตลอด ก็จะทำให้การปฏิบัติธรรมสำเร็จผลได้เร็วยิ่งขึ้น
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา