
อภิญญา 6 ประการ
อภิญญา แปลว่า ความรู้ที่ยิ่งยวด หรือ ความรู้พิเศษเฉพาะ เป็นคุณสมบัติพิเศษของพระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุตติ คือผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานสมาบัติ 8 ตามลำดับ แล้วจึงนำฌานนั้นมาเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนา จนสำเร็จอรหัตตผล
อภิญญานั้นมี 6 ประการ คือ
1. อิทธิวิธิ
อิทธิวิธิ ญาณที่ทำให้สามารถแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ เช่น สามารถเหาะได้ ดำดินได้ เดินบนน้ำได้ หายตัวได้ เป็นต้น
2. ทิพพโสต
ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ คือ สามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ ทั้งในที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งเสียงทั่วไปหรือเสียงทิพย์
3. เจโตปริยญาณ
เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ คือ สามารถกำหนดรู้ความคิดของผู้อื่นได้ หรือดักใจคนอื่นได้ รู้ว่าใครคิดอะไร ดีหรือไม่ดี เป็นต้น
4. ปุพเพนิวาสานุสสติ
ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ คือ สามารถรู้อดีตชาติของตนเองและผู้อื่นได้ เช่น รู้ว่าชาติก่อนตนเองเกิดเป็นอะไร หรือคนนั้นคนนี้เกิดเป็นอะไรในชาติก่อน มีความเกี่ยวข้องกับตนอย่างไร ทำกรรมอะไรไว้บ้าง เป็นต้น
5. ทิพพจักขุ
ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ คือ สามารถมองเห็นการเกิดและการตายของสัตว์ทั้งหลาย มองเห็นเหตุการณ์ความเป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมของสัตว์ทั้งหลาย สามารถมองเห็นทุกข์สิ่งได้ตามต้องการแม้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น ๆ
6. อาสวักขยญาณ
อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป คือ ความรู้แจ้งในธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลสาสวะทั้งหลาย คืออริยสัจ 4 อันเป็นเหตุนำตนให้เข้าถึงความหลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวงด้วยอำนาจแห่งเจโตวิมุตติหรือปัญญาวิมุตติ
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ