
อภิฐาน 6 ประการ
อภิฐาน แปลว่า ฐานะอันมีโทษหนัก ฐานะอันยิ่งยวด ความผิดพลาดสถานหนัก หมายถึง กรรมที่มีโทษหนักยิ่งกว่ากรรมอื่น ๆ มี 6 ประการ คือ
1. มาตุฆาต
มาตุฆาต การฆ่ามารดา มารดาในที่นี้หมายเอามารดาผู้ให้กำเนิด มารดาถือเป็นผู้มีบุญคุณมาก เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ให้ชีวิต และเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ จึงเป็นผู้มีบุญคุณมากมายมหาศาล การฆ่ามารดาของตนเอง จึงชื่อว่าเป็นกรรมที่มีโทษหนัก
2. ปิตุฆาต
ปิตุฆาต การฆ่าบิดา บิดาในที่นี้หมายเอาบิดาผู้ให้กำเนิด บิดาเป็นผู้มีบุญคุณยิ่งใหญ่ต่อบุตร เช่นเดียวกันกับมารดา เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิด ให้ชีวิต เลี้ยงดูทะนุถนอมบุตรจนเติบใหญ่ เป็นผู้มีบุญคุณมหาศาล ยากที่จะทำคุณตอบแทนได้หมด การฆ่าบิดา จึงชื่อว่าเป็นกรรมที่มีโทษหนัก
3. อรหันตฆาต
อรหันตฆาต การฆ่าพระอรหันต์ พระอรหันต์ เป็นผู้ปฏิบัติตามธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุด บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง พระอรหันต์ จึงเป็นผู้ยิ่งโดยคุณและยิ่งโดยบารมี การฆ่าพระอรหันต์ จึงจัดเป็นกรรมที่มีโทษหนัก
4. โลหิตุปบาท
โลหิตุปบาท การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงขั้นทำให้พระโลหิตห้อขึ้นไป พระพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐสุดยิ่งกว่าผู้ใดในไตรโลก ทรงเปี่ยมไปด้วยพระคุณอันยิ่งใหญ่ มีบารมีอันได้บำเพ็ญมาแล้วหลายอสงไขยจนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทั้งยังเป็นผู้แผยแผ่หลักธรรมคำสอนให้สาธุชนทั้งหลายได้ปฏิบัติตามและรู้ตาม การทำร้ายพระพุทธเจ้าจึงเป็นกรรมหนัก แม้เพียงแค่ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยคือพระโลหิตห้อ ก็จัดเป็นกรรมหนักแล้ว
5. สังฆเภท
สังฆเภท การทำสงฆ์ให้แตกกัน สงฆ์ คือ พระภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปที่อยู่ร่วมสีมาเดียวกัน ทำสังฆกรรมร่วมกัน การทำสงฆ์ดังกล่าวให้แตกสามัคคีกัน แยกเป็น 2 ฝ่ายหรือหลายฝ่ายกว่านั้น จนถึงขั้นแยกกันทำสังฆกรรม จัดว่าเป็นสังฆเภท สังฆเภทนี้ก็จัดเป็นกรรมที่มีโทษหนัก
6. อัญญสัตถุทเทส
อัญญสัตถุทเทส การถือศาสดาอื่น หมายเอาภิกษุที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา แล้วเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นทั้งที่ยังถือเพศของภิกษุอยู่ การที่บุคคลบวชเข้ามาเป็นภิกษุในพุทธศาสนาแล้วเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น ถือเป็นการกระทำที่ผิดพลาด เพราะเดิมทีถือถูกอยู่แล้ว กลับทิ้งสิ่งที่ถูกไปถือผิด
อภิฐาน 6 นี้ 5 ข้อแรกก็คืออนันตริยกรรมนั่นเอง
อภิฐานนี้ ในบาลีที่มาเดิม เรียกว่า อภัพพฐาน ฐานะที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ไม่อาจจะกระทำ คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ