
จริต 6 ประการ
จริต หรือ จริยา แปลว่า ความประพฤติ ได้แก่ ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่งอันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดานของมนุษย์ อุปนิสัยหรือบุคลิกลักษณะประจำตัวของแต่ละบุคคล มี 6 ประการ คือ
1. ราคจริต
ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม บุคคลประเภทนี้เป็นคนรักสวยรักงาม กิริยาท่าทางนิ่มนวล ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย ยึดติดในสิ่งที่สวยงาม มีรสนิยมหนักไปทางโอ้อวด ถือตัว เจ้าเล่ห์ ชอบให้คนอื่นชื่นชมหรือยกย่องสรรเสริญตนเอง
คนราคจริต หากเจริญกรรมฐาน ควรเจริญอสุภกรรมฐานและกายคตาสติ เพราะจะช่วยให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่สวยงามเสียได้
2. โทสจริต
โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด คนประเภทนี้มีอุปนิสัยหนักไปทางใจร้อน กิริยาท่าทางกระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว แต่ทำงานไม่ค่อยเรียบร้อย ผิดพลาดบ่อย ไม่ใส่ใจเรื่องสวย ๆ งาม ๆ เป็นคนโกรธง่าย หงุดหงิดเร็ว มีความอดทนต่ำ ชอบพูดคำหยาบ ชอบใช้ความรุนแรง อวดดี ชอบอิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นใครเด่นกว่าตนเอง
กรรมฐานที่เหมาะกับคนโทสจริต คือ พรหมวิหาร 4 และ กสิณ โดยเฉพาะวัณณกสิณ
3. โมหจริต
โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึม งมงาย คนประเภทนี้มีอุปนิสัยหนักไปทางเฉื่อยชา อืดอาด ยืดยาด เหงา ๆ ซึม ๆ ไม่ใส่ใจสิ่งรอบข้าง ขี้เกียจ ชอบดองงาน ปล่อยให้งานคั่งค้าง ทำอะไรไม่จริงจัง
กรรมฐานที่เหมาะกับคนโมหจริต คือ อานาปานสติ และพึงแก้ด้วยการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครูอาจารย์
4. วิตกจริต
วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน คนประเภทนี้มีอุปนิสัยหนักไปทางกล้า ๆ กลัว ๆ ลังเล ไม่กล้าตัดสินใจ วิตกกังวล ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มั่นใจในตัวเอง
กรรมฐานที่เหมาะกับคนวิตกจริต คือ อานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ
5. สัทธาจริต
สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบานน้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย คนประเภทนี้มีอุปนิสัยหนักไปทางเชื่อง่าย กิริยาท่าทางคล้ายคนราคจริต รักสวยรักงาม มีระเบียบ แต่จะหัวอ่อน เชื่อคนง่าย เชื่ออย่างงมงายไม่เลิกเชื่อง่าย ๆ มักเลื่อมใสในวัตถุบางอย่าง หรือบุคคลบางคน ที่ตนคิดว่าน่าเสื่อมใส และจะศรัทธาบูชาอย่างไม่ต้องการเหตุผล
คนสัทธาจริต ควรเจริญกรรมฐานที่ทำให้มีศรัทธาถูกต้อง เช่น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
6. พุทธิจริต
พุทธิจริต หรือ ญาณจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา คนประเภทนี้มีอุปนิสัยหนักไปทางชอบศึกษาหาความรู้ ชอบค้นคว้า ชอบพิจารณาหาเหตุผล เป็นคนมีหลักการ รอบคอบ ชอบสมาคมกับคนมีความรู้ เชื่อในสิ่งที่ตนพิจารณาตริตรองแล้วเท่านั้น
กรรมฐานที่เหมาะกับคนพุทธิจริต คือกรรมฐานที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์วิจัย เช่น มรณสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา
การแบ่งอุปนิสัยของคนออกเป็น 6 ประเภทเช่นนี้ ก็เพื่อสะดวกแก่การเลือกกรรมฐานที่เหมาะสมแก่บุคคลประเภทนั้น ๆ เพราะเมื่อบุคคลเจริญกรรมฐานที่เหมาะกับอุปนิสัยของตน ก็จะทำให้การปฏิบัติธรรมเจริญก้าวหน้าได้เร็วและมีประสิทธิผลมากขึ้น
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ