
สัญเจตนา 6 ประการ
สัญเจตนา แปลว่า ความจงใจ ความตั้งใจ ความจำนง หรือความแสวงหาอารมณ์ หมายถึง ความคิดปรุงแต่งในรูปสัญญาเป็นต้น กล่าวคือ เมื่อสัญญาคือความหมายรู้เกิดขึ้นแล้ว ความคิดปรุงแต่งก็จะเกิดขึ้นตามมา สัญเจตนา แบ่งเป็น 6 ประการ ตามอารมณ์ที่รับเข้ามา ดังนี้
1. รูปสัญเจตนา
รูปสัญเจตนา ความจำนงรูป ความคิดปรุงแต่งในรูปสัญญา คือ เมื่อรูปสัญญาคือความหมายรู้ในรูปที่เห็นเกิดขึ้นแล้ว ความคิดปรุงแต่งในรูปสัญญาก็เกิดขึ้นตามมา เช่น สวย หรือไม่สวย เป็นต้น
2. สัททสัญเจตนา
สัททสัญเจตนา ความจำนงเสียง ความคิดปรุงแต่งในสัททสัญญา คือ เมื่อสัททสัญญาคือความหมายรู้ในเสียงที่ได้ยินเกิดขึ้นแล้ว ความคิดปรุงแต่งในสัททสัญญาก็เกิดขึ้นตามมา เช่น ไพเราะหรือไม่ไพเราะ เป็นต้น
3. คันธสัญเจตนา
คันธสัญเจตนา ความจำนงกลิ่น ความคิดปรุงแต่งในคันธสัญญา คือ เมื่อคันธสัญญาคือความหมายรู้ในกลิ่นที่ได้ดมเกิดขึ้นแล้ว ความคิดปรุงแต่งในคันธสัญญาก็เกิดขึ้นตามมา เช่น หอมหรือเหม็น น่าชอบใจหรือไม่น่าชอบใจ เป็นต้น
4. รสสัญเจตนา
รสสัญเจตนา ความจำนงรส ความคิดปรุงแต่งในรสสัญญา คือ เมื่อรสสัญญาคือความหมายรู้ในรสที่ได้ลิ้มเกิดขึ้นแล้ว ความคิดปรุงแต่งในรสสัญญาก็เกิดขึ้นตามมา เช่น อร่อย หรือไม่อร่อย เป็นต้น
5. โผฏฐัพพสัญเจตนา
โผฏฐัพพสัญเจตนา ความจำนงโผฏฐัพพะ ความคิดปรุงแต่งในโผฏฐัพพสัญญา คือ เมื่อโผฏฐัพพสัญญาคือความหมายรู้ในโผฏฐัพพะที่ได้สัมผัสเกิดขึ้นแล้ว ความคิดปรุงแต่งในโผฏฐัพพสัญญาก็เกิดขึ้นตามมา เช่น สบาย หรือไม่สบาย เป็นต้น
6. ธัมมสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา ความจำนงธรรมารมณ์ ความคิดปรุงแต่งในธัมมสัญญา คือ เมื่อธัมมสัญญาคือความหมายรู้ในธรรมารมณ์เกิดขึ้นแล้ว ความคิดปรุงแต่งในธัมมสัญญาก็เกิดขึ้นตามมา เช่น งาม น่าเกลียด เป็นต้น
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ