
อคฺคทายี วรทายี…..เสฏฺฐทายี จ โย นโร
ทีฆายุ ยสวา โหติ…….ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ.
[คำอ่าน]
อัก-คะ-ทา-ยี, วะ-ระ-ทา-ยี…..เสด-ถะ-ทา-ยี, จะ, โย, นะ-โร
ที-คา-ยุ, ยะ-สะ-วา, โห-ติ………ยัด-ถะ, ยัด-ถู-ปะ-ปัด-ชะ-ติ
[คำแปล]
“ผู้ให้สิ่งอันเลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในภพที่ตนเกิด.”
(พุทฺธ) องฺ.ปญฺจก. 22/56.
การให้ หมายถึง การเสียสละทรัพย์สินสิ่งของที่เป็นของของตนเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เช่น การใส่บาตรพระสงฆ์ การบริจาคเพื่อการกุศลในกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
การให้ เป็นบุญขั้นพื้นฐานที่สามารถทำได้ง่ายกว่าบุญอื่น ๆ จึงเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนิยมทำ
อานิสงส์ของการให้ทานจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีผลต่ออานิสงส์ของการให้ทานก็คือวัตถุที่ให้ ถ้าสิ่งที่ให้นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีมีค่าน้อย อานิสงส์ย่อมน้อยไปด้วย ถ้าสิ่งที่ให้นั้นเป็นสิ่งที่ดีมีค่ามาก อานิสงส์ก็ย่อมมากไปด้วยเช่นกัน
เป็นอันสรุปได้ว่า ถ้าวัตถุทานเป็นสิ่งที่เลิศ อานิสงส์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นอานิสงส์ที่เลิศด้วยเช่นกัน
อานิสงส์ของการให้สิ่งที่เลิศที่ประเสริฐในฐานะอันเลิศหรือแก่บุคคลที่เลิศที่ประเสริฐด้วยคุณธรรม ย่อมส่งผลให้เกิดอานิสงส์อันเลิศ ทำให้มีอายุที่ยืนยาว สุขภาพแข็งแรง มีโอกาสได้รับยศสูงในสถานที่ที่ตนไปเกิดในภพหน้า มีทรัพย์สินเงินทอง ไม่ตกทุกข์ได้ยาก.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา