
นีหเรเถว ทาเนน………ทินฺนํ โหติ สุนิพฺพุตํ
ทินฺนํ สุขผลํ โหติ……นาทินฺนํ โหติ ตํ ตถา.
[คำอ่าน]
นี-หะ-เร-เถ-วะ, ทา-เน-นะ…….ทิน-นัง, โห-ติ, สุ-นิบ-พุ-ตัง
ทิน-นัง, สุ-ขะ-ผะ-ลัง, โห-ติ…นา-ทิน-นัง, โห-ติ, ตัง, ตะ-ถา
[คำแปล]
“พึงนำ (สมบัติ) ออกด้วยการให้ วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอันนำออกดีแล้ว วัตถุที่ให้แล้วย่อมมีผลเป็นสุข ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้ก็ไม่เป็นอย่างนั้น.”
(เทวตา) สํ.ส. 15/43.
คนเราทั้งหลายเกิดมาบนโลกใบนี้ ย่อมต้องดินรนเพื่อความอยู่รอด ต้องแสวงหาทรัพย์สินมาจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันเพื่อให้ตนเองสามารถดำรงอยู่ได้ ผู้มีทรัพย์มากย่อมมีความสุขสะดวกสบาย จับจ่ายใช้สอยคล่องตัว ไม่ลำบากในเรื่องการใช้ชีวิต ผู้มีทรัพย์น้อยย่อมมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก จับจ่ายใช้สอยไม่สะดวก ได้รับความทุกข์จากการไม่มีทรัพย์ ดังนั้น ทรัพย์สินเงินทองแม้จะเป็นของนอกกาย แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและจะขาดเสียมิได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีทรัพย์มากก็ไม่ควรยึดติดหรือยึดมั่นถือมั่นในทรัพย์นั้น ไม่ควรหวงแหนจนเกินเหตุ ไม่ควรตระหนี่ถี่เหนียว ผู้มีทรัพย์มากพึงยินดีในการเสียสละให้ปันสิ่งของแก่ผู้อื่นที่มีน้อยหรือไม่มีเลย ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทำบุญบำเพ็ญทานบารมี การทำเช่นนี้เป็นการกำจัดความตระหนี่ และใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์
เมื่อมีทรัพย์มากจนเพียงพอต่อการดำรงชีวิตและเหลือกินเหลือใช้ บุคคลผู้เป็นบัณฑิตย่อมถือเอาประโยชน์จากทรัพย์เหล่านั้นด้วยการสละให้ปัน เป็นการสร้างบุญสร้างกุศล สร้างประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทรัพย์สินที่ถูกนำออกด้วยการสละให้ปันนั้น ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ คือเป็นบุญของผู้ให้ เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รับ
ผู้มีที่ทรัพย์สินเงินทองมาก นอกจากส่วนที่ตนต้องใช้สอยแล้ว ทรัพย์สินส่วนที่เก็บไว้เฉย ๆ ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะทรัพย์ทั้งปวงที่มีอยู่ เมื่อถึงคราวที่บุคคลต้องตายไปจากโลกนี้ ย่อมไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลย ต้องทิ้งไว้ในโลก ไม่เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ดังนั้น เมื่อยังมีโอกาสทำทรัพย์สินเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ ก็พึงถือเอาประโยชน์จากทรัพย์สินเหล่านั้นอย่างชาญฉลาด
อย่างไรก็ตาม การสละให้ปันนั้นต้องประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ว่ามีเท่าไหร่จะต้องสละให้ปันแก่บุคคลอื่นเสียทั้งหมด แต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ต้องรู้จักแบ่งกินแบ่งเก็บแบ่งใช้และแบ่งให้ อย่าให้จนตนเองต้องเดือดร้อน.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา