
อนุปุพพิกถา 5 ประการ
อนุปุพพิกถา แปลว่า เรื่องที่กล่าวตามลำดับ หมายถึง ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์ มี 5 ประการ คือ
1. ทานกถา
ทานกถา กล่าวถึงการให้ หมายถึง เทศนาพรรณาถึงประโยชน์ของทานคือการให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพื่อชักนำอัธยาศัยของผู้ฟังให้ยินดีในการให้ ละความเห็นแก่ตัวและความตระหนี่ถี่เหนียว บรรเทาโลภะให้เบาบางลง
2. สีลกถา
สีลกถา กล่าวถึงศีล หมายถึง เทศนาพรรณาถึงประโยชน์ของการรักษาศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อยดีงาม ชักนำอัธยาศัยของผู้ฟังให้เกิดความยินดีในการประพฤติสุจริต ดำเนินชีวิตตามทำนองคลองธรรม
3. สัคคกถา
สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์ หมายถึง เทศนาพรรณาถึงทิพยสมบัติและความสุขสบายในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ อันบุคคลสามารถเข้าถึงได้ในสัมปรายภพ ซึ่งเป็นผลแห่งการบำเพ็ญทานและศีลดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้น ชักนำให้ผู้ฟังยินดีในการบำเพ็ญทานและศีลเพื่อผลอันน่าปรารถนาคือการเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
4. กามาทีนวกถา
กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษของกาม หมายถึง เทศนาพรรณาถึงข้อเสียของกามทั้งหลาย บรรยายให้ผู้ฟังเข้าใจว่าความสุขทั้งหลายในโลกมนุษย์ก็ตามในโลกสวรรค์ก็ตาม เป็นความสุขที่ยังเจือปนด้วยทุกข์ เป็นความสุขที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นความสุขที่ยังสามารถกลับมาทุกข์ได้ เพื่อให้ผู้ฟังเบื่อหน่ายอยากพ้นจากกามเสีย
5. เนกขัมมานิสังสกถา
เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการออกจากกาม หมายถึง เทศนาที่กล่าวถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิดเพลินติดอยู่ในกาม บรรยายให้ผู้ฟังรับรู้ถึงผลดีที่เกิดจากการออกจากกาม มีฉันทะที่จะแสวงความดีงามและความสุขอันสงบประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น คือพระนิพพาน
ตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจจ์ 4 เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้ว ควรรับน้ำย้อมต่าง ๆ ได้ด้วยดี
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ