ปรมัตถธรรม 4 ประการ

ปรมัตถธรรม คือ สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย มี 4 ประการ คือ

1. จิต

จิต สภาพที่คิด ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่ปรากฏ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น จิต (วิญญาณ) เป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

2. เจตสิก

เจตสิก คือ ภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต เป็นสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต เป็นนามธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

3. รูป

รูป คือ สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ เป็นรูปธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

4. นิพพาน

นิพพาน คือ สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจากตัณหา เป็นขันธวิมุตติ คือพ้นจากขันธ์