
ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน….ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ….จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
[คำอ่าน]
ทุน-นิก-คะ-หัด-สะ, ละ-หุ-โน…..ยัด-ถะ, กา-มะ-นิ-ปา-ติ-โน
จิด-ตัด-สะ, ทะ-มะ-โถ, สา-ทุ…จิด-ตัง, ทัน-ตัง, สุ-ขา-วะ-หัง
[คำแปล]
“การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้.”
(พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/19.
โดยธรรมชาติแล้ว จิตของคนทั้งหลายมักจะไหลลงไปสู่อารมณ์ต่ำ ๆ เหมือนกันกับน้ำที่จะไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ จิตก็เหมือนกัน ไหลลงสู่อารมณ์ต่ำ ๆ อยู่ตลอดเวลา คือมักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ น่าพอใจ ที่เรียกว่า อิฏฐารมณ์ เพราะจิตนั้นมีสภาพเบา ไม่หนักแน่น มักหวั่นไหวคลอนแคลนไปตามอำนาจของกิเลสที่คอยครอบงำบงการอยู่เสมอ จึงทำให้หลงผิด ทำผิดได้ง่าย ๆ
การที่จะข่มจิต คือทำให้จิตอยู่ในอำนาจให้ได้นั้น เป็นสิ่งที่ยากนัก เพราะจิตมีสภาวะเบา หวั่นไหวไปตามอำนาจของกิเลสได้ง่ายดังกล่าวแล้ว
หากต้องการข่มจิต ต้องหมั่นฝึกจิตให้อยู่ในอำนาจ ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาอยู่เสมอ เพื่อให้จิตเกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวง สามารถมองสรรพสิ่งได้ทะลุปรุโปร่งตามความเป็นจริง ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งลวงโลกทั้งหลาย
เมื่อฝึกจิตให้ดีได้ดังกล่าวแล้ว จิตจะเป็นจิตที่สะอาดปราศจากกิเลส สว่างไสวจากอวิชชา สงบระงับจากอาสวะทั้งปวง เป็นจิตที่นำประโยชน์สุขมาให้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา