ติกะ หมวดสาม

เทพ 3 ประเภท

เทพ 3 ประเภท

เทพ แปลตามศัพท์ว่า เทพเจ้า หรือ เทวดา แต่ในที่นี้ กล่าวโดยความหมายโดยอ้อม หมายถึง ผู้รุ่งเรืองด้วยสิริเหนือกว่าบุคคลทั่วไป จำแนกเป็น 3 ประเภท
อ่านต่อเทพ 3 ประเภท
ทิฏฐิ 3 ประการ

ทิฏฐิ 3 ประการ

ทิฏฐิ คือ ความเห็น ในที่นี้หมายเอามิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด ได้แก่ความเห็นที่ขัดกับหลักพุทธศาสนา ความเห็นที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง เป็นความเห็นที่ควรละเสีย มี 3 ประการ
อ่านต่อทิฏฐิ 3 ประการ
ตัณหา 3 ประการ

ตัณหา 3 ประการ

กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม หมายถึง ความทะยานอยากในการแสวงหากามคุณทั้งห้า คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าพอใจมาสนองความต้องการของตนเอง เช่น ต้องการเห็นรูปที่สวยงาม ต้องการฟังเสียงที่ไพเราะ เป็นต้น ก็ดิ้นรนแสวงหาสิ่งเหล่านั้นมาสนองความต้องการของตนเอง
อ่านต่อตัณหา 3 ประการ
ญาณ 3 ประการ

ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)

ญาณ แปลว่า ความรู้ ความหยั่งรู้ ปรีชาหยั่งรู้ หมายถึง ปัญญาหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคลทำให้รู้แจ้งเห็นจริง ญาณในหมวดนี้หมายเอาความรู้แจ้งในอริยสัจ 4 มี 3 ประการ
อ่านต่อญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
ญาณ 3 ประการ

ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)

ญาณ แปลว่า ความรู้ ความหยั่งรู้ ปรีชาหยั่งรู้ หมายถึง ปัญญาหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคล ทำให้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง มี 3 ประการ
อ่านต่อญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
ทวาร 3 ประการ

ทวาร 3 ประการ

ทวาร แปลว่า ประตู ทาง หรือช่องทาง มีความหมายเป็น 2 นัย คือ นัยที่ 1 หมายถึงช่องทางในการรับรู้อารมณ์ มี 6 อย่าง เรียกว่า ทวาร 6 นัยที่ 2 หมายถึงช่องทางในการทำกรรม มี 3 ทาง เรียกว่า ทวาร 3
อ่านต่อทวาร 3 ประการ
กรรม 3 ประการ

กรรม 3 ประการ

กรรม คือ การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่วก็ตาม แบ่งตามทวารหรือช่องทางในการกระทำ มี 3 ประการ
อ่านต่อกรรม 3 ประการ
อาสวะ 3 ประการ

อาสวะ 3 ประการ

อาสวะ คือ สภาวะอันหมักดองสันดาน สิ่งที่มอมเมาพื้นจิต กิเลสที่ไหลซึมซ่านไปย้อมใจเมื่อประสบอารมณ์ต่าง ๆ จัดเป็นกิเลสอย่างละเอียด ปกติจะไม่แสดงตัวออกมา ต่อเมื่อประสบกับอารมณ์ที่น่าใคร่น่าพอใจจึงจะแสดงตัวออกมา มี 3 ประการ
อ่านต่ออาสวะ 3 ประการ
อนุตตริยะ 3 ประการ

อนุตตริยะ 3 ประการ

อนุตตริยะ แปลว่า ภาวะอันยอดเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม กล่าวถึงความเป็นเหตุเป็นผลที่สืบเนื่องกันของความรู้ การปฏิบัติ และผลที่ได้ อันยอดเยี่ยม มี 3 ประการ
อ่านต่ออนุตตริยะ 3 ประการ
อธิปไตย 3 ประการ

อธิปไตย 3 ประการ

อธิปไตย หรือ อธิปเตยยะ แปลว่า ความเป็นใหญ่ หรือ ภาวะที่ถือเอาเป็นใหญ่ หมายถึง สิ่งที่ยึดถือเป็นสำคัญในการกระทำหรือการดำเนินชีวิต มี 3 ประการ คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธัมมาธิปไตย
อ่านต่ออธิปไตย 3 ประการ
อัตถะ 3 ประการ

อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)

อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ ผลที่มุ่งหมาย จุดหมาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลาย ก็เพื่อให้พุทธบริษัทนั้นได้รับประโยชน์ 3 ประการ
อ่านต่ออัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
อัคคิปาริจริยา 3 ประการ

อัคคิปาริจริยา 3 ประการ

อัคคิปาริจริยา แปลว่า ไฟที่ควรบำรุง หมายถึง บุคคลที่ควรบูชาด้วยใส่ใจบำรุงเลี้ยง และให้ความเคารพนับถือตามสมควรแก่ฐานะ มี 3 ประเภท
อ่านต่ออัคคิปาริจริยา 3 ประการ
กุศลวิตก 3 ประการ

กุศลวิตก 3 ประการ

กุศลวิตก คือ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดี ความคิดที่เป็นไปในทางที่ดี เป็นความคิดที่ถูกทาง เป็นความนึกคิดที่นำพาไปสู่ความสุขความเจริญ มี 3 ประการ
อ่านต่อกุศลวิตก 3 ประการ
อกุศลวิตก 3 ประการ

อกุศลวิตก 3 ประการ

อกุศลวิตก คือ ความตรึกที่เป็นอกุศล ความนึกคิดที่ไม่ดี เป็นความคิดที่ผิดทาง เป็นความคิดที่เป็นสาเหตุแห่งการกระทำความชั่วนานาประการ แบ่งเป็น 3 อย่าง
อ่านต่ออกุศลวิตก 3 ประการ
สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ

สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ

สามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะที่เสมอกันของสังขารทั้งหลาย อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นตามธรรมดาของมัน คือทุกสิ่งทุกอย่างล้วนตกอยู่ในลักษณะเหล่านี้ทั้งหมด มี 3 ประการ
อ่านต่อสามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ