
น เหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา
สราชิกา ยุชฺฌมานา ลเภถ
ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ
ขนฺติผลสฺสูปสมนฺติ เวรา.
[คำอ่าน]
นะ, เห-ตะ-มัด-ถัง, มะ-หะ-ตี-ปิ, เส-นา
สะ-รา-ชิ-กา, ยุด-ชะ-มา-นา, ละ-เพ-ถะ
ยัง, ขัน-ติ-มา, สับ-ปุ-ริ-โส, ละ-เพ-ถะ
ขัน-ติ-ผะ-ลัด-สู-ปะ-สะ-มัน-ติ, เว-รา
[คำแปล]
“เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้ (เพราะว่า) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ.”
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตฺตาฬีส. 27/538.
เวร คือ ความแค้นเคือง ความปองร้ายกัน ความจองล้างจองผลาญกัน ทำให้บุคคลเข่นฆ่ากัน ทำร้ายกัน ตามราวีจองล้างจองผลาญกันไม่หยุดหย่อน ด้วยหวังว่าจะสามารถทำให้เวรนั้นสงบระงับลงได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว เวรย่อมไม่สามารถสงบลงด้วยการจองเวรกันได้เลย แต่กลับกัน เวรย่อมสามารถสงบลงได้ด้วยการเลิกจองเวร
การที่จะสามารถเลิกจองเวรกันได้นั้น จะต้องอาศัยขันติเป็นกำลัง โดยเฉพาะการอดทนต่อความเจ็บใจ และการอดทนต่ออำนาจของกิเลส เวรทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น โดยพื้นฐานเกิดมาจากความเจ็บใจ เราอาจจะถูกด่าถูกว่า หรือถูกทำให้ไม่พอใจโดยประการต่าง ๆ แล้วเกิดความคับแค้นใจหรือเจ็บใจขึ้นมา ความคับแค้นใจหรือความเจ็บใจนี่เองที่เป็นสาเหตุให้เกิดเวรขึ้นมา
เมื่อเวรเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดตามมาก็คือการจองเวร คิดจะเอาคืน คิดจองล้างจองผลาญกัน แล้วก็เกิดการทำร้ายกัน ปะทะกัน กลับไปกลับมา ไม่รู้จบสิ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากความเจ็บใจหรือความคับแค้นใจทั้งสิ้น
ดังนั้น บุคคลผู้มีขันติคือความอดทนเป็นกำลัง สามารถข่มใจไม่ให้เกิดความโกรธในเมื่อประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ย่อมสามารถทำให้เวรสงบระงับลงได้ เพราะเวรย่อมระงับลงได้ด้วยการไม่จองเวร และการไม่จองเวรย่อมสามารถทำได้ด้วยอาศัยขันตินั่นเอง.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา