
น ตํ มาตา ปิตา กยิรา….อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ…….…..เสยฺยโส นํ ตโต กเร.
[คำอ่าน]
นะ, ตัง, มา-ตา, ปิ-ตา, กะ-ยิ-รา…..อัน-เย, วา-ปิ-จะ, ยา-ตะ-กา
สำ-มา-ปะ-นิ-หิ-ตัง, จิด-ตัง………ไส-ยะ-โส, นัง, ตะ-โต, กะ-เร
[คำแปล]
“มารดาบิดา หรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้ ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น.”
(พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/20.
ธรรมดาบิดามารดาย่อมมีความปรารถนาดีต่อบุตร หวังความเจริญรุ่งเรืองแก่บุตร สร้างประโยชน์ให้แก่บุตร หรือญาติสนิทมิตรสหายทั้งหลาย ก็ย่อมมีความหวังดีต่อญาติมิตรของตน สร้างประโยชน์ให้แก่ญาติมิตรของตน และช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามอัตภาพ
แต่บิดามารดาหรือญาติสนิทมิตรสหายเหล่านั้น ก็สงเคราะห์บุตรธิดาหรือญาติมิตรของตนได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น คือสามารถสงเคราะห์ด้วยประโยชน์ในโลกนี้เท่านั้น เช่น บิดามารดาเลี้ยงบุตรธิดาให้เติบโต ส่งเสียให้ได้ศึกษาเล่าเรียน ญาติสนิทมิตรสหายคอยช่วยเหลือในกิจการงานต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ย่อมก่อให้สำเร็จประโยชน์ได้ในโลกิยวิสัย
แต่สิ่งที่จะทำให้บุคคลเจริญและได้รับประโยชน์ยิ่งกว่านั้นก็คือจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว คำว่า “จิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว” หมายเอาจิตที่บุคคลตั้งไว้โดยชอบในกุศลกรรมบถ 10 ประการ อันเป็นทางทำกรรมฝ่ายกุศล คือ
- เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
- เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
- เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
- เว้นจากการกล่าวเท็จ
- เว้นจากการพูดจาส่อเสียดยุยงให้คนอื่นแตกสามัคคีกัน
- เว้นจากการพูดคำหยาบ
- เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ
- ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของคนอื่นในทางที่ผิด
- ไม่คิดปองร้ายคนอื่น
- มีความเห็นถูกต้องตามธรรม
จิตที่ตั้งไว้ดีแล้วในกุศลกรรมบถทั้ง 10 ประการเช่นนี้ ย่อมยังประโยชน์ให้เกิดแก่บุคคลนั้น ๆ เป็นอันมาก ผู้ที่มีจิตอันตั้งไว้ดีแล้ว ย่อมไม่ประกอบบาปกรรมกระทำความชั่ว เว้นเสียจากอบายมุขทั้งปวง ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ประพฤติห่างไกลจากกิเลสอันเป็นเหตุมัวหมอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวเขาเองย่อมประสบกับความสุขความเจริญทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นอกจากนั้นยังจะสามารถนำพาตนเองให้ประสบกับประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพานอันเป็นสิ่งที่บิดามารดาหรือญาติสนิทมิตรสหายไม่สามารถทำให้ได้.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา