
อกุศลกรรมบถ 10 ประการ
อกุศลกรรมบถ แปลว่า ทางแห่งอกุศลกรรม ทางแห่งความชั่ว หมายถึง สิ่งที่จะนำพาเราไปสู่สิ่งที่ชั่วร้าย หรือความชั่วอันจะเป็นทางไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคติ มี 10 ประการ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ฝ่ายชั่ว ดังนี้
กายกรรม 3
อกุศลกรรมบถที่เป็นไปทางกายหรือกายกรรม หมายเอากายทุจริต 3 ประการ คือ
- ปาณาติบาต คือ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
- อทินนาทาน คือ การถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ให้ เช่น การขโมย
- กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม
วจีกรรม 4
อกุศลกรรมบถที่เป็นไปทางวาจาหรือวจีกรรม หมายเอาวจีทุจริต 4 ประการ คือ
- มุสาวาท คือ การพูดเท็จ
- ปิสุณวาจา คือ การพูดส่อเสียด
- ผรุสวาจา คือ การพูดคำหยาบ
- สัมผัปปลาป คือ การพูดเพ้อเจ้อ
มโนกรรม 3
อกุศลกรรมบถที่เป็นไปทางใจหรือมโนกรรม หมายเอามโนทุจริต 3 ประการ คือ
- อภิชฌา คือ การเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นมาครอบครอง
- พยาบาท คือ การคิดปองร้ายคนอื่น
- มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดจากคลองธรรม
อกุศลกรรมบถทั้ง 10 ประการนี้ ก็ได้แก่ ทุจริต 3 นั่นเอง
อกุศลกรรมบถ ทั้ง 10 ประการนี้ เป็นธรรมฝ่ายชั่ว เป็นสิ่งที่ไม่ควรประพฤติ ควรหลีกเสียให้ห่างไกล และควรกำจัดออกจากจิตใจให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ