
กรรมกิเลส 4 ประการ
กรรมกิเลส แปลว่า กรรมเครื่องเศร้าหมอง หมายถึง การกระทำที่นำมาซึ่งทุกข์ เพราะเป็นกรรมที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ผู้กระทำย่อมถูกสังคมติเตียนรังเกียจ มี 4 ประการ คือ
1. ปาณาติบาต
ปาณาติบาต แปลว่า การทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั่นเอง ซึ่งคำว่า สัตว์มีชีวิต นั้น หมายรวมทั้งมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ที่มีชีวิต มีลมหายใจ
ปาณาติบาต จัดว่าเป็นกรรมกิเลส เพราะทำให้จิตใจของผู้ประพฤติมีสภาพโหดร้ายขาดเมตตาธรรม เป็นกรรมที่ให้ผลเป็นความชั่วทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
2. อทินนาทาน
อทินนาทาน แปลว่า การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือเอาของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั่นเอง เช่น การขโมย ฉก ชิง วิ่งราว ฉ้อโกง เป็นต้น ล้วนจัดเป็นอทินนาทานทั้งสิ้น
อทินนาทาน จัดว่าเป็นกรรมกิเลส เพราะเป็นมิจฉาชีพ เป็นการเลี้ยงชีพในทางที่ผิดศีลธรรม เป็นการละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น มีผลเป็นความชั่วทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
3. กาเมสุมิจฉาจาร
กาเมสุมิจฉาจาร แปลว่า การประพฤติผิดในกาม ได้แก่ การประพฤติเสียหายในทางเพศ เช่น เป็นชู้กับบุคคลที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาของตนเอง การข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น เป็นต้น
กาเมสุมิจฉาจาร จัดว่า เป็นกรรมกิเลส เพราะเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้ประพฤติมีกิริยาดุจสัตว์ดิรัจฉาน สร้างความไม่สงบสุขให้เกิดขึ้นในครอบครัวและสังคม เป็นกรรมมีผลชั่วทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
4. มุสาวาท
มุสาวาท แปลว่า การพูดเท็จ หมายถึง การพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ทำให้คนอื่นเข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง มี 7 ลักษณะ คือ ปด ทนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำเลศ เสริมความ และ อำความ
มุสาวาท จัดเป็นกรรมกิเลส เพราะทำให้ผู้ประพฤติเป็นคนขาดสัจจะ ขาดความซื่อสัตย์ ทำให้กลายเป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ เป็นกรรมมีผลชั่วทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ