
หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
พระสงฆ์ จัดเป็นอุปริมทิศ คือ ทิศเบื้องบน ใน ทิศ 6 เพราะเป็นผู้ที่สูงด้วยคุณธรรม สูงด้วยศีลาจารวัตร และเป็นผู้นำทางจิตใจ ดังนั้น พระสงฆ์จึงได้รับความเคารพนับถือและกราบไหว้บูชาจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย
พระสงฆ์พึงอนุเคราะห์คฤหัสถ์ 6 สถาน ดังนี้
1. ห้ามปรามจากความชั่ว
พระสงฆ์พึงคอยแนะนำห้ามปรามคฤหัสถ์ทั้งหลายไม่ให้ทำความชั่ว คอยแนะนำว่าสิ่งใดเป็นบาปอกุศล ชี้ให้เห็นโทษของบาปอกุศล และห้ามปรามไม่ให้ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
2. ให้ตั้งอยู่ในความดี
พระสงฆ์พึงคอยแนะนำสั่งสอนคฤหัสถ์ทั้งหลายให้ดำรงอยู่ในคุณงามความดี คอยแนะนำว่าสิ่งใดดีเป็นบุญเป็นกุศล ชี้ให้เห็นอานิสงส์ของบุญกุศล และสนับสนุนให้ทำบุญกุศลเหล่านั้น
3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
พระสงฆ์พึงอนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลายด้วยการถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เขาได้รับรู้ และพึงอนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ปรารถนาความสุขความเจริญแก่เขาอย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำเพื่อหวังลาภยศสรรเสริญหรือหวังประโยชน์ใด ๆ จากคฤหัสถ์เหล่านั้น
4. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
พระสงฆ์พึงอนุเคราะห์คฤหัสถ์ด้วยการเทศนาสั่งสอนให้เขาได้ฟังหลักธรรมคำสอนที่เขาไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง เพื่อให้คฤหัสถ์เหล่านั้นได้มีความรู้ใหม่ ๆ ได้หลักธรรมใหม่ ๆ ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
5. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
สิ่งใดหรือหัวข้อธรรมใด ที่คฤหัสถ์ทั้งหลายเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้วแต่ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง พระสงฆ์พึงอนุเคราะห์เขาด้วยการอธิบายสิ่งนั้นให้กระจ่าง ให้เขาได้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่ง ๆ ขึ้นไป
6. บอกทางสวรรค์ คือทางชีวิตที่มีความสุขความเจริญให้
พระสงฆ์พึงอนุเคราะห์คฤหัสถ์ด้วยการชี้ทางธรรมนำทางถูกปลูกจิตสำนึกที่ดีให้ ชี้ทางแห่งความสุขความเจริญอันเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยธรรม ให้เขาได้มีหลักในการดำเนินชีวิตที่ดี หากยังไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้ อย่างน้อยให้เขาได้รู้ทางแห่งสุคติโลกสวรรค์ ไม่ทำตนให้ตกต่ำ ไม่ให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ