
ศีล 5 ประการ
ศีล แปลว่า ปกติ หมายถึง ข้อปฏิบัติเพื่อรักษาความประพฤติทางกายและทางวาจาให้เป็นปกติและเรียบร้อยดีงาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มนุสสธรรม เพราะเป็นธรรมที่ทำให้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และเป็นธรรมที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และเป็นธรรมพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรรักษาและปฏิบัติอยู่เสมอ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิจศีล มี 5 ประการ คือ
- ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
- อทินนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
- กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
- มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการกล่าวเท็จ
- สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ศีลทั้ง 5 ข้อนี้แหละ คือสิ่งที่จะอำนวยผลให้มนุษย์เราอยู่ด้วยกันได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข ไม่เบียดเบียนกันทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สินเงินทอง
ความหมายของศีล
ศีล แปลว่า เย็น คือผู้ที่รักษาศีลอยู่ที่ไหนก็ร่มเย็นเป็นสุข อยู่ในสังคมไหน สังคมนั้นก็สงบสุข
ศีล แปลว่า ราก คือ ศีลเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญทั้งในทางโลกและทางธรรม
ศีล แปลว่า ปกติ คือ การที่เราได้มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ก็เพราะศีลพามาเกิด ศีล คือปกติภาวะของมนุษย์ ถ้าเรารักษาศีลได้ครบทั้ง 5 ข้อ ก็ถือว่าเราเป็นมนุษย์ที่ปกติ ไม่มีความขาดตกบกพร่อง
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ