Category: หัวข้อธรรม

อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง

พระพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ใครก็ตาม พระองค์มีหลักในการแสดงธรรมอยู่ 3 ประการ ซึ่งหลักทั้ง 3 ประการนี้เอง ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับนับถือจากผู้ที่ได้ฟังธรรมจากพระองค์

คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)

พระรัตนตรัย พระไตรรัตน์ หรือรัตนะ 3 อย่าง ในพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ นับว่าเป็นสิ่งทรงคุณค่าสุงสุด เป็นสิ่งเคารพบูชาสูงสุดในพระพุทธศาสนา

รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)

คำว่า รัตนะ แปลว่า แก้ว ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีค่า หรือถ้าเปรียบกับบุคคลก็จะหมายถึงบุคคลผู้เป็นที่รักหรือทรงคุณค่า เช่น พ่อแก้ว แม่แก้ว ลูกแก้ว เป็นต้น

บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท

บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
1. บุพการี ผู้กระทำคุณให้คนอื่นก่อน
2. กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่คนอื่นทำแก่ตนและตอบแทน

ลักษณะของขันติ 4 ประการ

ลักษณะของขันติ มี 4 อย่าง คือ
1. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ
2. อดทนต่อทุกขเวทนา
3. อดทนต่อความเจ็บใจ
4. อดทนต่ออำนาจกิเลส

ศีลข้อที่ 5 สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการดื่มของมึนเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ศีลข้อที่ 5 สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการดื่มของมึนเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ศีลข้อที่ 4 มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการกล่าวคำเท็จ

ศีลข้อที่ 4 มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการกล่าวคำเท็จ การผิดศีลข้อนี้พิจารณาจาก เรื่องไม่จริง จิตคิดจะกล่าวให้ผิด พยายามกล่าวออกไป คนฟังเข้าใจเนื้อความ

ศีลข้อที่ 2 อทินนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้

ศีลข้อที่ 2 อทินนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ พระพุทธศาสนาสอนให้เรางดการขโมย การชิงทรัพย์ของคนอื่น การฉ้อโกง

ศีลข้อที่ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

เมื่อพิจารณาโดยวัตถุ การฆ่าคนย่อมเป็นบาปมากกว่าการฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน และบาปย่อมยิ่งหย่อนกว่ากันโดยคุณของผู้ถูกฆ่าด้วย เช่น ฆ่าผู้มีคุณมาก ย่อมบาปมากกว่าฆ่าผู้มีคุณน้อย เป็นต้น

ศีล 5 ประการ

ศีล 5 ข้อ
1. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
2. อทินนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
3. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการกล่าวเท็จ
5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

สัมปชัญญะ 4 ประการ

สัมปชัญญะ มีลักษณะ 4 อย่าง คือ
1. สาตถกสัมปชัญญะ รู้ชัดว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
2. สัปปายสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
3. โคจรสัมปชัญญะ รู้ชัดในขอบเขตของสิ่งที่ทำ
4. อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดตามเป็นจริงไม่หลงงมงาย