หัวข้อธรรม

หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนควรรู้และทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บุคคล 4 ประเภท

บุคคล 4 ประเภท

บุคคล หมายถึง บุคคลผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน มีอุปนิสัยต่าง ๆ กัน ท่านจำแนกประเภทตามอุปนิสัยในอันที่จะฟังธรรมแล้วรู้ตามได้ เป็น 4 ประเภท
อ่านต่อบุคคล 4 ประเภท
บริษัท 4

บริษัท 4 (หมวดที่ 2)

บริษัท แปลว่า หมู่ คณะ กลุ่มชน ในที่นี้ หมายเอากลุ่มชนตามระบบสังคม ซึ่งจำแนกตามกลุ่มชนทางสังคมในชมพูทวีปในครั้งพุทธกาล แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ
อ่านต่อบริษัท 4 (หมวดที่ 2)
บริษัท 4

บริษัท 4 (หมวดที่ 1)

บริษัท แปลว่า ชุมนุม ที่ประชุม หรือกลุ่มชน ในที่นี้หมายเอาหมู่แห่งพุทธศาสนิก หรือชุมชนชาวพุทธ หมายถึงกลุ่มชนที่จะประคับประคองพระพุทธศาสนาให้คงอยู่และเจริญรุ่งเรืองไปได้
อ่านต่อบริษัท 4 (หมวดที่ 1)
ธรรมสมาทาน 4 ประการ

ธรรมสมาทาน 4 ประการ

ธรรมสมาทาน คือ ข้อที่ยึดถือเอาเป็นหลักความประพฤติปฏิบัติ หลักการที่ยึดถือปฏิบัติ การประกอบกรรม เป็นข้อธรรมที่มุ่งแสดงถึงรูปแบบของการปฏิบัติและลักษณะของการให้ผลของการปฏิบัตินั้น มี 4 ลักษณะ
อ่านต่อธรรมสมาทาน 4 ประการ
ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ

ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ

ทักขิณาวิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาหรือการถวายทาน เป็นสิ่งจำแนกให้เห็นชัดว่าการถวายทานนั้นจะมีอานิสงส์มากหรือน้อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
อ่านต่อทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
ฌาน 4 ประการ

ฌาน 4 ประการ

ฌาน หมายถึง ความแน่วแน่แห่งจิต หรือภาวะที่จิตสงบนิ่งเป็นสมาธิขั้นอัปปนา ซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูงสุด เกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน ในที่นี้หมายเอารูปฌาน คือฌานที่เกิดจากการเพ่งสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น กสิณ 10 อสุภะ 10 เป็นต้น เป็นอารมณ์
อ่านต่อฌาน 4 ประการ
กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ 4 คือ หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละอย่าง ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ 4 แต่ละอย่าง ผู้ที่จะปฏิบัติให้ตรัสรู้ได้นั้น จะต้องปฏิบัติกิจในอริยสัจ 4 แต่ละข้อให้ถูกต้อง
อ่านต่อกิจในอริยสัจ 4
โอฆะ 4 ประการ

โอฆะ 4 ประการ

โอฆะ แปลว่า ห้วงน้ำ หมายถึง สภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ กิเลสที่เป็นเหมือนห้วงน้ำที่พัดพาสรรพสัตว์ให้จมอยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏ กิเลสดุจน้ำท่วมพาผู้ตกไปให้พินาศ โอฆะนี้ เรียกว่า โยคะ บ้าง เพราะเป็นกิเลสที่ผูกมัดสรรพสัตว์ไว้ในภพ เรียกว่า อาสวะ บ้าง เพราะเป็นกิเลสที่หมักหมมฝังแน่นอยู่ในสันดานของสรรพสัตว์
อ่านต่อโอฆะ 4 ประการ
อุปาทาน 4 ประการ

อุปาทาน 4 ประการ

อุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่น ความถือมั่น ความยึดติด หมายเอาความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส ความยึดติดอันเนื่องมาจากตัณหา โดยคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นความยึดถือที่ผิด เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเศร้าหมองต่อการดำรงชีวิต
อ่านต่ออุปาทาน 4 ประการ
อาหาร 4 ประการ

อาหาร 4 ประการ

อาหาร แปลว่า สิ่งที่นำผลมาให้ สภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย หมายถึง เครื่องค้ำจุนชีวิต สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและพัฒนาได้
อ่านต่ออาหาร 4 ประการ
อรูป 4 ประการ

อรูป 4 ประการ

อรูป หรือ อารุปป์ แปลว่า สภาวะที่ไม่มีรูป หมายเอาฌานที่มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ คืออรูปฌาน อย่างหนึ่ง ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาน หรือภพอันเป็นที่อยู่ของอรูปพรหม อย่างหนึ่ง
อ่านต่ออรูป 4 ประการ
อริยวงศ์ 4 ประการ

อริยวงศ์ 4 ประการ

อริยวงศ์ แปลว่า วงศ์ของพระอริยะ หมายถึง ปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติที่พระอริยะทั้งหลายยึดถือปฏิบัติสืบกันมาแต่โบราณไม่ขาดสาย หรืออาจเรียกว่า อริยประเพณี
อ่านต่ออริยวงศ์ 4 ประการ
อัปปมัญญา 4 ประการ

อัปปมัญญา 4 ประการ

อัปปมัญญา แปลว่า ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต หมายเอาธรรมคือพรหมวิหารทั้ง 4 ประการ แต่แผ่ไปในสรรพสัตว์โดยไม่มีประมาณ ไม่มีจำกัดขอบเขต ไม่จำกัดตัวบุคคล มี 4 ประการ เช่นเดียวกับพรหมวิหารธรรม
อ่านต่ออัปปมัญญา 4 ประการ
อปัสเสนธรรม 4 ประการ

อปัสเสนธรรม 4 ประการ

อปัสเสนะ หรือ อปัสเสนธรรม คือ ธรรมดุจพนักพิง ธรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย หมายถึง ธรรมที่จำเป็นต้องอาศัยเพื่อป้องกันไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น ทำลายอกุศลที่มีอยู่ให้เสื่อมสิ้นไป สนับสนุนให้กุศลเกิดขึ้น และรักษาพอกพูนกุศลที่มีอยู่แล้วให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อ่านต่ออปัสเสนธรรม 4 ประการ
อบาย 4 ประเภท

อบาย 4 ประเภท

อบาย แปลว่า เสื่อม หรือความปราศจากความเจริญ หมายเอา อบายภูมิ ซึ่งแปลว่า ภูมิหรือดินแดนอันปราศจากความเจริญ หมายถึง ภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นที่เกิดของผู้ที่ทำบาปกรรมไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
อ่านต่ออบาย 4 ประเภท